เมนู

ว่าด้วยธรรมหมวด 5



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด 5 จึงเริ่มเทศนาอีก. ในหมวด 5
นั้น พึงทราบอธิบายดังนี้. บรรดาขันธ์ 5 รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ. ขันธ์
ที่เหลือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. อุปทานขันธ์ เป็นโลกิยะอย่างเดียว.
ก็กถาว่าด้วยขันธ์ ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้ว ในวิสุทฐิมรรค. กามคุณ
ทั้งหลาย ท่านให้พิสดารแล้วในหนหลัง. ที่ชื่อว่า คติ เพราะอรรถว่าสัตว์
พึงดำเนินไป เพราะกรรมที่ทำดี และกรรมที่ทำไม่ดีเป็นต้น. ข้อว่า นิรโย
แปลว่า หมดความยินดี. ขันธ์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้พร้อมกับโอกาส (ที่อยู่)
ร่วมกัน. ขันธ์ที่เกิดขึ้นในที่ 3 แห่ง นอกจากนี้ ท่านกล่าวแล้ว. แม้โอกาส
ท่านก็กล่าวไว้แล้วในขันธ์ที่ 4.
ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยอาวาสมัจฉริยะนั้น เห็นอาคันตุกะแล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า ในอาวาส
หลังนี้เขาเก็บบริขารของเจดีย์ หรือของสงฆ์ไว้ ย่อมกันอาวาสแม้ที่เป็นของ
สงฆ์. เธอทำกาละแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเปรต หรืองูเหลือม. ความตระหนี่
ในตระกูลชื่อว่า กุลมัจฉริยะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในตระกูล
นั้น ย่อมกันภิกษุพวกอื่นจะเข้าไปในตระกูลอุปัฏฐากของตน ด้วยเหตุนั้น ๆ.
ความตระหนี่ในลาภ ชื่อว่า ลาภมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในลาภนั้น ตระหนี่ลาภแม้เป็นของสงฆ์ กระทำโดยประการที่ภิกษุพวกอื่น
จะไม่ได้. ความตระหนี่ในวรรณะ ชื่อว่า วรรณมัจฉริยะ. ก็ในคำว่า
วณฺโณ นี้ บัณฑิตพึงทราบ ทั้งสรีรวรรณะ ทั้งคุณวรรณะ. ความตระหนี่
ในปริยัติธรรม ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในปริยัติธรรมนั้น ย่อมไม่ให้ ( ปริยัติธรรม ) แก่ภิกษุอื่นด้วยคิดเสียว่า